ลิซา เฮด
ลิซา เฮด

ลิซา เฮด

ร้อยเอกหญิง ลิซา เจด เฮด (อังกฤษ: Captain Lisa Jade Head; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 198119 เมษายน ค.ศ. 2011)[1] เป็นนายทหารกองทัพอังกฤษ เธอเป็นเจ้าหน้าที่ทำลายล้างวัตถุระเบิดหญิงคนแรกที่ถูกสังหารในขณะปฏิบัติหน้าที่[2] เธอเสียชีวิต ณ วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2011 ขณะอายุได้ 29 ปี ภายหลังจากการได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสเมื่อครั้งเข้าประจำการในประเทศอัฟกานิสถาน ในช่วงที่เธอเสียชีวิต ร้อยเอกหญิงเฮดเป็นนายทหารหญิงคนแรกและเป็นเจ้าหน้าที่หญิงชาวอังกฤษคนที่สองที่เสียชีวิตในประเทศอัฟกานิสถาน นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ต่อจากซาราห์ ไบรอันท์ และเป็นสมาชิกของกองกำลังติดอาวุธที่เสียชีวิตในลำดับที่ 364 [3]เธอเกิดที่ฮัดเดอร์สฟิลด์ เวสต์ยอร์คเชียร์ และได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยกรีนเฮด รวมถึงเข้าศึกษาสาขาชีววิทยามนุษย์ที่มหาวิทยาลัยฮัดเดอร์สฟิลด์ ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์ทซ์[4] เธอได้เข้าประจำการในประเทศอิรัก และอัฟกานิสถานในฐานะเจ้าหน้าที่ประสานงานการขนส่งทางอากาศกับเหล่าพลาธิการ ก่อนที่จะได้รับการโอนไปยังกองทหารหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (อีโอดี) 321 กรมสรรพาวุธวัตถุระเบิดที่ 11 เหล่าพลาธิการ ร่วมกับผู้ที่เธอเคยร่วมประจำการในไอร์แลนด์เหนือ โดยเธอได้รับการเคลื่อนพลไปยังอัฟกานิสถานในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2011 ที่ซึ่งเธอเป็นผู้ชำนาญด้านการทำลายล้างวัตถุระเบิดและประสบความสำเร็จในฐานะ "ผู้ปฏิบัติการกู้ภัยคุกคามจากระเบิดแสวงเครื่องระดับสูง"[3][5][6]เธอได้รับบาดเจ็บสาหัสในนาห์ร-อี-ซาราจ์ ที่จังหวัดเฮลมานด์เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็น 22 วันหลังจากที่เข้ามาในอัฟกานิสถานเป็นครั้งที่สอง ในขณะที่พยายามที่จะยับยั้งการทำงานของระเบิดแสวงเครื่องที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งแหล่งที่มาของฝ่ายจำเลยกล่าวว่า ได้มีการวางไว้เพื่อล่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำลายล้างวัตถุระเบิดเข้ามาทำการเก็บกู้ โดยเธอได้ทำการปลดชนวนไปหนึ่งลูก แต่แล้วลูกที่สองก็ได้ระเบิดออกไปแบบเป็นลูกโซ่ แขนและขาของเธอได้หายไปเกือบทั้งหมดจากการระเบิด เธอได้รับการเคลื่อนย้ายโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยังแคมพ์เบสชัน ที่ลัชการ์กาห์ เพื่อเตรียมบินกลับไปยังโรงพยาบาลควีนเอลิซาเบธ ที่เบอร์มิงแฮม กระทั่งเธอได้เสียชีวิต ณ ที่แห่งนั้นในวันรุ่งขึ้น[1][6][7]งานศพของเธอได้จัดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ที่โบสถ์ฮัดเดอร์สฟิลด์ปาริช ซึ่งทหารกองเกียรติยศจากกองทหารของเธอ ได้จัดแถวย่างก้าวเป็นขบวนแห่ศพและนำโลงศพของเธอเข้าไปในโบสถ์[8] ผู้คนกว่า 1,000 ชีวิตได้เข้าร่วมพิธีศพ ซึ่งรวมถึงครอบครัว, มิตรสหาย, บุคลากรทางทหาร และประชาชนพลเมืองในฮัดเดอร์สฟิลด์[4]

ลิซา เฮด